อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์
ประชาชนชุมนุมประท้วงหน้าสำนักผูกขาดยาสูบเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 | |
ชื่อพื้นเมือง | 二二八事件 |
---|---|
วันที่ | 27 กุมภาพันธ์ – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 |
ที่ตั้ง | ไต้หวัน |
ประเภท | การต่อต้านรัฐบาล |
สาเหตุ | การกดขี่และก่อพฤติกรรมที่เสียหายบ่อยครั้งของก๊กมินตั๋ง |
ผล | รัฐบาลได้ประกาศใช้กฏอัยการศึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าสะพรึงสีขาว |
เสียชีวิต | 18,000–28,000 คน[1][2] |
อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ หรือ การสังหารหมู่ 28 กุมภาพันธ์ ยังเป็นที่รู้จักกันคือ อุบัติการณ์ 228 (หรือ 2/28) (จีน: 二二八事件; พินอิน: Èr’èrbā shìjiàn) เป็นการก่อกำเริบต่อต้านรัฐบาลในไต้หวันที่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีนภายใต้การนำของพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้ทำการสังหารพลเรือนนับพัน เหตุการณ์เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 จำนวนชาวไต้หวันที่เสียชีวิตซึ่งรวมถึงการสังหารหมู่มีการคาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณระหว่าง 18,000 ถึง 28,000 คน[1] การสังหารหมู่ครั้งนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ "ความน่าสะพรึงสีขาว" (White Terror) ซึ่งมีชาวไต้หวันจำนวนอีกนับหมื่นคนได้หายตัวไป เสียชีวิต หรือไม่ก็ถูกจำคุก อุบัติการณ์นี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไต้หวันและเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับขบวนการเรียกร้องเอกราชไต้หวัน[3]
ในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งมอบการควบคุมบริหารปกครองเกาะไต้หวันให้แก่สาธารณรัฐจีน (ROC) เป็นอันสิ้นสุดลงในช่วง 50 ปีของการปกครองอาณานิคมของญี่ปุ่น ประชาชนในท้องถิ่นเริ่มรู้สึกไม่พอใจในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเจ้าหน้าที่พรรคก๊กมินตั๋งต่างมีพฤติกรรมที่ชอบกดขี่ข่มเหงและคอรัปชั่นอยู่บ่อย ๆ รวมทั้งยึดทรัพย์สินส่วนบุคคลมาเป็นของตัวเองตามอำเภอใจ การจัดการทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี และกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมือง จุดชนวนได้มาถึงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 ในกรุงไทเป เมื่อตัวแทนของสำนักการผูกขาดของรัฐได้ทำร้ายหญิงม่ายชาวไต้หวันคนหนึ่งที่ต้องสงสัยว่าทำการค้าขายบุหรี่เถื่อน ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่คนหนึ่งได้ยิงเข้าไปที่คนหนึ่งที่อยู่ในฝูงชนที่ยืนดูด้วยความโกรธแค้น ซึ่งคน ๆ นั้นได้เสียชีวิตลงในวันรุ่งขึ้น[4] ต่อมาทหารได้ยิงใส่ผู้ชุมนุมในวันรุ่งขึ้น ภายหลังจากสถานีวิทยุได้ถูกยึดและข่าวการประท้วงได้ถูกเผยแพร่ออกไปทั่วทั้งเกาะ ในขณะที่การก่อการกำเริบกำลังลุกลาม เฉิน ยี่ ผู้ว่าการที่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคก๊กมินตั๋งได้เรียกการเสริมกำลังทางทหารเข้ามา และการก่อการกำเริบได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน หลังจากนั้นเป็นเวลา 38 ปี เกาะได้ถูกประกาศให้อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกในช่วงเวลาที่เป็นที่รู้จักกันคือ ความน่าสะพรึงสีขาว[5]
ในช่วงความน่าสะพรึงสีขาว พรรคก๊กมินตั๋งได้รับรู้ถึงความไม่เห็นด้วยทางการเมืองและเหตุกาณ์ดังกล่าวได้ถือว่าเป็นเรื่องต้องห้ามเกินกว่าที่จะพูดคุยถกเถียงกันได้ ประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในวันครบรอบปีใน ค.ศ. 1995 เหตุกาณ์ในปัจจุบันได้ออกมาพูดคุยอย่างเปิดเผยและรายละเอียดของเหตุการณ์ได้กลายเป็นหัวข้อของการสืบสวนของรัฐบาลและนักวิชาการ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปีได้กลายเป็นวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการที่ถูกเรียกว่า วันอนุสรณ์รำลึกสันติภาพ ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐได้รวมตัวกันกับเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ เพื่อส่งเสียงระฆังที่รำลึกในความทรงจำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ อนุสาวรีย์และสวนสาธารณะอนุสรณ์ที่รำลึกถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ 2/28 ถูกสร้างขึ้นในหลาย ๆ เมืองของไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสวนสาธารณะในกรุงไทเปที่มีชื่อว่า นิวพาร์คไทเป ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สวนสาธารณะอนุสรณ์สันติภาพ 228 และพิพิธภัณฑ์รำลึก 228 แห่งชาติ เปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เกาสฺยงยังมีการจัดแสดงอย่างถาวรโดยมีการกล่าวอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ 228 ในเกาสฺยง[6][7] ในปี ค.ศ. 2019 คณะกรรมการยุติธรรมในช่วงที่ผ่านมาได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในช่วงหลังที่ตามมา[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Forsythe, Michael (July 14, 2015). "Taiwan Turns Light on 1947 Slaughter by Chiang Kai-shek's Troops". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2018.
To somber cello music that evokes 'Schindler's List,' displays memorialize the lives lost, including much of the island's elite: painters, lawyers, professors, and doctors. In 1992, an official commission estimated that 18,000 to 28,000 people had been killed.
- ↑ Kristof, Nicholas D. (April 3, 1992). "Taipei Journal – The Horror of 2–28: Taiwan Rips Open the Past". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2018. สืบค้นเมื่อ March 1, 2020.
- ↑ Fleischauer, Stefan (1 พฤศจิกายน 2007). "The 228 Incident and the Taiwan Independence Movement's Construction of a Taiwanese Identity". China Information. 21 (3): 373–401. doi:10.1177/0920203X07083320.
- ↑ Chou, Wan-yao (2015). A New Illustrated History of Taiwan. แปลโดย Plackitt, Carole; Casey, Tim. Taipei: SMC Publishing Inc. p. 317. ISBN 978-957-638-784-5.
- ↑ 周婉窈 (ตุลาคม 2016). 臺灣歷史圖說 [Illustrated History of Taiwan] (ภาษาจีนตัวเต็ม) (三版 ed.). 臺北: 聯經出版公司. ISBN 978-957-084-808-3.
- ↑ Ko, Shu-ling; Chang, Rich; Chao, Vincent Y. (1 มีนาคม 2011). "National 228 museum opens in Taipei". Taipei Times. p. 1. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ Chen, Ketty W. (28 กุมภาพันธ์ 2013). "Remembering Taiwan's Tragic Past". Taipei Times. p. 12. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ Lin, Sean (6 ตุลาคม 2018). "Commission exonerates 1,270 people". Taipei Times. Taipei. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ |
- "Taipei 228 Memorial Museum (臺北228紀念館)". culture.tw. Taiwan Ministry of Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- Hong, Keelung (28 กุมภาพันธ์ 2003). My Search for 2–28 (Speech). Berkeley, California. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014.
- "The 228 Massacre, As Documented in the US Media". 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014.
- "Reflection on the 228 Event". Taiwan Human Rights InfoNet. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014.
- 財團法人二二八事件紀念基金會 [228 Incident Memorial Foundation] (ภาษาจีน). 2011. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014.